สมาคมกีฬาดาร์ทแห่งประเทศไทย เผยแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19)
แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนคลายกิจการและกิจกรรมด้านการกีฬา
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
สำหรับการแข่งขันกีฬาดาร์ท
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้จัดการแข่งขัน
1) การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ป้องกันโรค
1.1) ลงทะเบียนเพื่อจัดกิจกรรม ตามมาตรการผ่อนปรนในแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามที่ทาง
ราชการกำหนด พร้อมทั้งชี้แจงเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำกับผู้ที่มาเข้าร่วมกิจกรรม สามารถลงทะเบียนก่อนเข้าและออกสถานที่จัดกิจกรรมได้
1.2) จัดให้มีระบบลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ โดยใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” และจัดให้มีแบบลงทะเบียนก่อนเข้าและออกสถานที่ กรณีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีสมาร์ทโฟน สำหรับการใช้แอปพลิเคชั่นลงทะเบียน เพื่อประโยชน์ต่อการติดตามกรณีพบผู้ป่วยและผู้ที่สัมผัสที่มาใช้บริการในสถานที่
1.3) จำกัดทางเข้าและออกเพียงช่องทางเดียว และจัดให้มีจุดตรวจคัดกรองอาการไข้ ไอ หอบเหนื่อย
เป็นหวัด สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่และเข้าร่วมกิจกรรม
1.4) จัดให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณพื้นที่บริการต่างๆ รวมทั้งห้องสุขา ในปริมาณที่เพียงพอต่อจำนวนผู้ที่มาเข้าร่วมกิจกรรม
1.5) ให้เว้นระยะนั่งหรือยืนอย่างน้อย 1 เมตร ลดการใกล้ชิดกัน จุดรอรายงานตัวเพื่อเข้าแข่งขัน จุดรอเข้าห้องน้ำ รวมถึงพื้นที่นั่งส่วนกลาง เว้นระยะห่างระหว่างการเดิน และให้เว้นระยะนั่งหรือยืน พื้นที่ระหว่างการฝึกซ้อม อย่างน้อย 2 เมตร
1.6) มีการตรวจสอบและจัดการพื้นที่ให้บริการมีความสะอาดและปลอดภัยต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1.7) จัดทำป้ายคำแนะนำ สัญลักษณ์เตือนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และทำการแข่งขันอย่างปลอดภัยเพื่อสอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรค
1.8) จัดให้มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ กรณีใช้เครื่องปรับอากาศ อาจพิจารณาให้มีช่องทางระบายอากาศ หรือใช้พัดลมระบายอากาศ เพื่อการหมุนเวียนอากาศที่เพียงพอ รวมถึงภายในและบริเวณห้องสุขา
1.9) จัดให้มีอุปกรณ์ส่วนบุคคล เช่น หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าหรือ Face Shield ให้เจ้าหน้าที่ทุกคน
1.10) จัดให้มีระบบคิว และมีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
2) การเตรียมความพร้อมในการให้บริการ
2.1) มาตรการคัดกรองอาการป่วย
(1) จัดให้มีการตรวจคัดกรองอาการไข้ ไอ หอบเหนื่อย เป็นหวัด สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนก่อนเข้าพื้นที่ ทั้งนี้ ควรมีอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส และไม่มีอาการระบบทางเดินหายใจ พร้อมทั้งติดสัญลักษณ์แสดงจุดผ่านการคัดกรอง
(2) กำหนดให้มีแนวทางปฏิบัติการดูแล หรือแนวทางการส่งต่อผู้ที่มีอาการป่วย หรือพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามนิยามผู้สงสัยติดเชื้อที่มีอาการ รวมทั้งพิจารณาให้มีห้องแยกหรือบริเวณแยก
(3) กรณีพบเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม มีไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก หรือมีอุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีประวัติเสี่ยงเข้าได้กับเกณฑ์สอบสวนโรค
ให้รายงานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทราบ
2.2) มาตรการในการป้องกันโรค
(1) จำกัดระยะเวลาการเข้าใช้สนามอย่างเหมาะสม พิจารณาการเปิดและปิดการให้บริการสนามสำหรับผู้ที่ขอใช้สนามฝึกซ้อม ก่อนทำการแข่งขัน แบ่งเป็นช่วงเวลาและจำนวนอย่างเหมาะสม
(2) ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด โดยพิจารณาจัดให้มีการเหลื่อมเวลาการขอใช้สนาม
เพื่อการฝึกซ้อมด้วยระบบคิวเวลาในการใช้สนาม เพื่อลดความแออัด
(3) เจ้าหน้าที่ทุกคน ต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า รวมทั้งไม่เปิดหรือจับหน้ากากอนามัย
หรือหน้ากากผ้า และไม่ควรสัมผัสผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยรักษาระยะห่างระหว่างผู้ใช้บริการ อย่างน้อย 1 เมตร
(4) เจ้าหน้าที่ นักกีฬา ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย หรือ Face Shield ตลอดเวลา ระหว่างรอทำการแข่งขัน
(5) เจ้าหน้าที่ นักกีฬา ทำความสะอาดมือด้วย แอลกอฮอล์เจล 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอยู่เสมอ
(6) จัดให้มีการชำระเงินค่าสมัครหรือค่าบริการผ่านระบบออนไลน์ (e-Payment) หรือ QR Code ผ่าน
แอปพลิเคชัน หากมีการชำระด้วยเงินสด ต้องไม่สัมผัสมือโดยตรง เช่น การมีถาดรับเงิน หรือต้องพ่นแอลกอฮอล์ในการทอนเงินให้ผู้ใช้บริการทุกครั้ง โดยที่พนักงานรับเงินต้องสวมถุงมืออยู่ตลอดเวลา และต้องมีการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง
(7) จัดให้มีเจ้าหน้าที่ของสถานที่ตรวจตรา ควบคุม และแนะนำ ให้เป็นไปตามมาตรการควบคุม
หลักอย่างเคร่งครัด
(8) จัดให้มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมกิจกรรม และความรู้
ในการสังเกตตนเอง
(9) หากพบว่าเจ้าหน้าที่หรือผู้เข้าร่วมกิจกรรมภายในสถานที่เป็นผู้ป่วยยืนยัน หรือมีข้อมูลบ่งชี้ว่าสถานที่อาจเป็นจุดแพร่เชื้อได้ จะทำการยุติหรือปิดสถานที่ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
(10) พิจารณาให้มีกล้องวงจรปิด เพื่อใช้ในการบันทึกภาพการให้และใช้บริการบริเวณต่างๆ รอบสนาม เพื่อติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคลของผู้เข้าร่วมกิจกรรม กรณีพบผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการ สามารถจัดให้มีเจ้าหน้าที่แจ้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทันที
2.3) มาตรการการรักษาความสะอาด
(1) ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ อุปกรณ์กีฬา ห้องสุขา ที่จับสายชำระ โถปัสสาวะ ลูกบิดกลอนประตู ก๊อกน้ำ ด้วย น้ำยาทำความสะอาด แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด อย่างน้อย 1 ครั้ง/ชั่วโมง และพนักงานทำความสะอาด ต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ถุงมือและชุดที่เหมาะสมขณะทำความสะอาด ทั้งนี้ให้ใช้ที่คีบคีบขยะ และล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง
(2) ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่และพื้นที่จุดสัมผัสร่วม ทุกๆ 30 นาที เช่น สนามแข่งขัน อุปกรณ์แข่งขัน พื้นที่ฝึกซ้อม เป็นต้น รวมทั้งเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวของสัมผัสของสถานที่ ด้วยน้ำยาทำความสะอาด เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของคลอรีน ก่อนและหลังการใช้งานอยู่เสมอ พร้อมจัดให้มีถังขยะใส่ถุงรองรับ และกำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
(3) จัดให้มีจุดทิ้งขยะ เพื่อแยกขยะต่างๆ โดยแยกขยะหน้ากากอนามัยจากขยะทั่วไป และมัดปากถุงให้แน่นก่อนส่งกำจัดตามหลักสุขาภิบาล
(4) เจ้าหน้าที่ นักกีฬา ต้องล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคบ่อยครั้ง
***มาตรการเสริม***
(1) จัดให้มีการตรวจร่างกายนักกีฬาและใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือก่อนทำการแข่งขัน โดยเจ้าหน้าที่ประจำสนาม วัดอุณหภูมิร่างกายต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส
(2) จัดพื้นที่บริเวณรอบสนามแข่งขันให้มีระยะห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร โดยให้มีเฉพาะผู้มีภารกิจหน้าที่ในการแข่งขันของคู่นั้นๆ
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ใช้บริการ (นักกีฬา ผู้ตัดสิน โค้ช หรือบุคลากรอื่นๆ ที่เข้าร่วมในการแข่งขัน)
1) การเตรียมตัวก่อนใช้บริการ
(1) หากผู้ใช้บริการมีอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด ให้งดการไปใช้บริการ
(2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้งและตลอดที่อยู่ในพื้นที่
(3) ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอยู่เสมอ
(4) ศึกษาคู่มือใช้งานและใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” เพื่อลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่
(5) ผู้ใช้บริการต้องไม่ปิดบังข้อมูลส่วนตัว เช่นโรคประจำตัว การเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงที่มีการแพร่
ระบาดของโรคโควิด 19 การสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลในครอบครัว/ญาติที่มีการติดเชื้อ เป็นต้น
2) ระหว่างและหลังการใช้บริการ
(1) ลงทะเบียนเข้าใช้บริการด้วยการสแกน QR Code บริเวณหน้าสถานออกกำลังกาย และสนามแข่งขัน รวมทั้งสแกน QR Code ก่อนออกจากสถานที่ด้วย
(2) ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ผู้ประกอบการกำหนด เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้ารับบริการ ให้ข้อมูลและประวัติการเจ็บป่วย และประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงของตนเอง พร้อมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำของสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ
(3) เว้นระยะการทำกิจกรรมอย่างน้อย 2 เมตร ต่อ 1 คนขณะรอคิวใช้บริการจะให้เว้นระยะห่างตามจุดหรือสัญลักษณ์ ตามที่สนามกำหนด
(4) ควรพูดโดยใช้ระดับเสียงปกติ และลดการใช้เสียงดังขณะทำกิจกรรม และเลี่ยงไอ จาม ใกล้ผู้อื่น
(5) ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อยู่เสมอ
(6) ไม่บ้วนน้ำลายหรือเสมหะ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าและสิ่งแวดล้อมโดยไม่จำเป็น
(7) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมควรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ หากพบว่าการไม่เป็นไปตามาตรการป้องกันควบคุมโรค
(8) พิจารณาการใช้ระบบชำระเงินที่ไม่ต้องสัมผัสเงินสดแบบ e-Payment หรือ QR Code
Recent Comments